สาขาชีววิทยา (ค.บ.) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ผศ.ดร.ภาวนา กังเตีย และคณาจารย์ ได้ จัด “โครงการบ่มเพาะบัณฑิตครูให้มีอัตลักษณ์และสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพครู: ในการเรียนรู้ปฏิบัติการนอกห้องเรียน”

วันที่ 27-28 เมษายน 2566
สาขาชีววิทยา (ค.บ.) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ผศ.ดร.ภาวนา กังเตีย และคณาจารย์ ได้ จัด “โครงการบ่มเพาะบัณฑิตครูให้มีอัตลักษณ์และสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพครู: ในการเรียนรู้ปฏิบัติการนอกห้องเรียน”

เริ่มจากการศึกษาประวัติเรือหลวงจักรีนฤเบศร ที่เคยปฏิบัติภารกิจเป็นฐานปฏิบัติการคุ้มครองด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติทั้งฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลอันดามันและรักษาสิ่งแวดล้อมในทะเล จากนั้นนำนักศึกษาเรียนรู้ที่ “ค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์” จังหวัดชลบุรี โดยอาจารย์ประสาน แสงไพบูลย์ และทีมงาน เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะปะการัง รวมทั้งการฝึกทักษะในการดำน้ำ เนื่องจากมีมูลนิธิกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ ซึ่งมีโครงการปลูกและขยายพันธุ์ปะการังเขากวาง ดังนี้นทีมงานค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ จึงได้สอนและฝึกทักษะให้นักศึกษาเรียนดำน้ำและศึกษาสิ่งมีชีวิตในทะเลที่หาดน้ำใส ในวันที่สองสาขาและทีมงานค่ายวิทยาศาสตร์ฯ นำนักศึกษาปฏิบัติการดำน้ำเพื่อศึกษาสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลและปลูกปะการังที่เกาะแสมสาร จากนั้นค่ายวิทยาศาสตร์ฯ ยังเสริมทักษะให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตัวอย่างแพลงก์ตอนผ่านกล้องจุลทรรศน์อีกด้วย เมื่อเรียนรู้ใต้ท้องทะเลแล้วสาขาได้นำนักศึกษาเรียนรู้ที่ “ฟาร์มปลาการ์ตูน เพอคูล่า สัตหีบ” ซึ่งเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาการ์ตูนที่แรกและใหญ่ที่สุดของไทย มีปลาการ์ตูนและปลาต่างๆ นับแสนตัว มีโรงเรือนสำหรับอนุบาลลูกปลา พร้อมทั้งมีพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย และโรติเฟอร์ ซึ่งเป็นอาหารสำหรับลูกปลา ฟาร์มแห่งนี้เป็นแหล่งพันธุ์ปลาทะเลเกือบ 100 ชนิด เช่น ปลาหมอทะเล, ปลานกแก้ว, ปลาฉลาม, ปลาเก๋า, ปลาโนรี, ปลาช่อนทะเลและปลาขี้ตัง เป็นต้น จากการเรียนรู้ปฏิบัติการนอกห้องเรียนครั้งนี้ นักศึกษาได้ทั้งความรู้ ความสนุกสนานและจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล เพื่อเป็นพื้นฐานในการเป็นครูที่ดีและจะได้นำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดสู่ลูกศิษย์ต่อไปในอนาคต

รายละเอียดเพิ่มเติม :
https://link.bsru.ac.th/n38

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น