คำชี้แจงการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
  วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ เป็นวารสารทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ และผลงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยี
  กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับ และจะพิจารณาการตีพิมพ์ตามความเหมาะสมโดยเรียงลำดับก่อนหลังของการได้รับต้นฉบับบทความที่สมบูรณ์
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
คำชี้แจงการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
แบบส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์
Checklist สำหรับผู้นิพนธ์ตรวจสอบก่อนส่งบทความมายังวารสาร
Template บทความวิจัย
ตัวอย่าง รูปแบบตารางที่ควรใช้ในบทความวิจัย
   
  หลักเกณฑ์การพิจารณาบทความ
 
1. ประเภทของบทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ สาระน่ารู้ งานแปล และอื่น ๆ
2. บทความที่จะลงตีพิมพ์ต้องไม่เคยนำไปเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อลงในวารสารอื่น ๆ
3. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์จะไม่รับพิจารณาบทความในกรณีที่ต้องยอมรับการตีพิมพ์ภายใน 1 เดือน เนื่องจากการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องใช้ระยะเวลา
4. กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นในด้านเนื้อหาและความถูกต้องของรูปแบบการพิมพ์ หากรูปแบบการพิมพ์ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กองบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณาต้นฉบับ หากผ่านการพิจารณาบทความจะเข้าสู่การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอย่างน้อย 3 ท่าน โดยการประเมินคุณภาพของบทความจะเป็นแบบ double blinded กล่าวคือ ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินจะไม่ทราบตัวตนและไม่ถูกเปิดเผยข้อมูลให้ทราบ บทความที่ส่งจากบุคคลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันทั้งหมด บทความที่ส่งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและ/หรือภายนอกสถาบัน
5. บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์แล้วถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
6. ข้อเขียนและข้อคิดเห็นใด ๆ ในวารสารนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไปหากมีประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา ผู้นิพนธ์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
7. ถ้ามีการศึกษาวิจัยในมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องแนบหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ethics committee) และระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในบทความ หากมีการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลอง เช่น ในหนูทดลอง การวิจัยนั้นจะต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลอง
   
  การเตรียมต้นฉบับ
  เพื่อให้การตีพิมพ์บทความเป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วและมีมาตรฐานเดียวกันผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามรายละเอียด ดังนี้
 
1. ต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จัดเตรียมด้วยโปรแกรม Microsoft Word
2. แบบตัวอักษร ใช้ TH SarabunPSK
3. จำนวนหน้าทั้งหมด ไม่เกิน 20 หน้า ตั้งค่ากระดาษขนาด B5 (กว้าง 7.17 นิ้ว ยาว 10.12 นิ้ว หรือ กว้าง 18.2 ซม. ยาว 25.7 ซม.) ระบุเลขหน้ากำกับทุกหน้า โดยจัดไว้ด้านล่างกึ่งกลางหน้า
4. การตั้งค่าขอบกระดาษ ด้านละ 0.98 นิ้ว หรือ 2.5 ซม.
5. บทคัดย่อ พิมพ์เต็มหน้ากระดาษ พิมพ์ 1 คอลัมน์
6. การพิมพ์ส่วนเนื้อหา ขนาดตัวอักษร 16 โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัด (line spacing) เท่ากับ 1 พิมพ์ 1 คอลัมน์
7. ชื่อตาราง รูป แผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 16
8. เนื้อหาในตาราง รูป แผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 16 หรือตามความเหมาะสม
9. ชื่อวิทยาศาสตร์ เขียนด้วยตัวอักษรเอียง เช่น Aspergillus niger
10. ชื่อหัวเรื่องหรือหัวข้อ ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา จัดชิดซ้าย
   
  รูปแบบต้นฉบับ
  1. หน้าแรก ประกอบด้วย
 
1.1 ชื่อบทความภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 20 ตัวหนา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2 ชื่อผู้เขียนหรือนักวิจัย ไม่ต้องมีคำนำหน้านาม ขนาดตัวอักษร 16 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ และให้ใช้ตัวยก1 , 2 ไว้บนนามสกุลเพื่อระบุสังกัด
1.3 ที่อยู่หรือสังกัด ขนาดตัวอักษร 16 ประกอบด้วยสาขาวิชา ภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย จังหวัดของผู้เขียนหรือนักวิจัย จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษและใส่หมายเลขด้านหน้าบนที่อยู่เช่น1สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1.4 ผู้เขียนที่เป็นผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author) ให้มีเครื่องหมายดอกจันทน์ (*) ต่อจากตัวยก ระบุ Corresponding author e-mail ขนาดตัวอักษร 16 จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษเช่น *Corresponding author email:
1.5 บทคัดย่อขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาในบทคัดย่อ ขนาดตัวอักษร 16 ไม่เกิน 300 คำ หรือ 15 บรรทัด
1.6. คำสำคัญ ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษ ไม่เกิน 5 คำ เช่น คำสำคัญ: การจัดการเทคโนโลยี / อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
  2. หน้าที่สอง ให้เตรียมเช่นเดียวกับหน้าแรก แต่ให้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  3. หน้าถัดไป เป็นส่วนเนื้อหา
  3.1 บทความวิจัยจะประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ โดยแต่ละหัวข้อมีขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา จัดชิดริมซ้ายของหน้ากระดาษ
 
3.1.1 บทนำ (introduction) เป็นส่วนของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจนนำมาสู่งานวิจัย การตรวจเอกสาร และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
3.1.2 วัสดุและวิธีการ (materials and methods) เป็นส่วนอธิบายเครื่องมือ วิธีการศึกษา การเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
3.1.3 ผลการศึกษา (results) เป็นส่วนบรรยายผลการศึกษาวิจัย พร้อมเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางหรือภาพประกอบ โดยขนาดของภาพควรมีความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi
3.1.4 วิจารณ์ (discussion) เป็นส่วนบรรยายเปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่มีมาก่อนหน้าอย่างมีหลักการ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
3.1.5 สรุป (conclusion) เป็นส่วนที่สรุปสาระสำคัญว่าตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ
3.1.6 กิตติกรรมประกาศ (acknowledgements) หากไม่มี สามารถตัดหัวข้อนี้ออกได้
3.1.7 เอกสารอ้างอิง (references)
  3.2 บทความวิชาการจัดทำในรูปแบบเช่นเดียวกับบทความวิจัย ในส่วนเนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
 
3.2.1 บทนำ (introduction) เป็นส่วนที่มาและสาเหตุของการเขียนบทความที่มีลักษณะการกล่าวนำเรื่อง โดยให้ความรู้เบื้องต้นและบอกเจตนาของผู้เขียน
3.2.2 เนื้อหา (content) เป็นส่วนที่รวบรวมความรู้ สาระต่าง ๆ และความคิดเห็นของผู้เขียนโดยมีหัวข้อตามความเหมาะสม
3.2.3 สรุป (conclusion) เป็นส่วนสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา
3.2.4 กิตติกรรมประกาศ (acknowledgements) หากไม่มี สามารถตัดหัวข้อนี้ออกได้
3.2.5 เอกสารอ้างอิง (references)
  รูปแบบการเขียนอ้างอิง
  การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style)
  1. การเขียนอ้างอิงภายในเนื้อหา
  เขียนอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลโดยการระบุเลขอารบิคภายในวงเล็บใหญ่ไว้ท้ายข้อความให้ตรงกันกับหมายเลขที่พิมพ์ไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ เช่น
  ณรงค์และคณะ [1] ได้ศึกษาถึงภาวะคอเลสเตอรอลสูงที่ส่งผลกระทบต่อชาวไทย
  ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเส้นเลือดทำให้เกิดการเสียชีวิตในหลายประเทศ [1-3]
 

2. การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

  ถ้าแหล่งอ้างอิงมาจากภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อผู้แต่งเป็นภาษาอังกฤษ โดยเขียนชื่อสกุลตัวเต็มนำหน้าตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้น เช่น Kavinseksan B, Wongsiri S.
  ถ้าแหล่งอ้างอิงมาจากภาษาไทย ให้เขียนแบบภาษาไทยโดยเขียนชื่อและนามสกุลเป็นคำเต็ม เช่น เธียร ธีระวรวงศ์, เกษม คงนิรันดรสุข.
  ถ้าผู้แต่งมีหลายคนแต่ไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคนโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างแต่ละคน และหลังชื่อสุดท้ายใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.)
  ถ้ามีผู้แต่งเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วย "et al" สำหรับภาษาไทยใช้คำว่า “และคณะ”
  ชื่อบทความถ้าเป็นเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อบทความใช้อักษรตัวใหญ่ (Capital letter) เฉพาะตัวแรกและชื่อเฉพาะ นอกนั้นให้ใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด เมื่อจบชื่อบทความให้ใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.)
  ชื่อวารสาร ถ้าเป็นวารสารภาษาอังกฤษให้เขียนด้วยชื่อย่อของวารสารตามที่เป็นสากล ในกรณีวารสารภาษาไทย ให้ใช้ชื่อเต็มของวารสารที่ปรากฎที่หน้าปก เช่น
The New England journal of medicine ãªé N Engl J Med
  เลขหน้าให้ใส่เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย โดยใช้ตัวเลขเต็มสำหรับหน้าแรก และตัดตัวเลขซ้ำออกสำหรับเลขหน้าสุดท้าย เช่น หน้า 23-29 เขียนเป็น 23-9
 
2.1 การอ้างอิงจากหนังสือ มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์ (author). ชื่อหนังสือ (title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (edition). เมืองที่พิมพ์ (place of publication): สำนักพิมพ์ (publisher); ปี (year). เช่น
  เติมศรี ชำนาญกิจ. สถิติประยุกต์ทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
  Summers DS. Quality. 2nd ed. NewJersey: Perntice-Hall; 2000.
2.2 การอ้างอิงจากวารสาร มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์ (author). ชื่อบทความ (title of the article). ชื่อวารสาร (title of the Journal) ปี (year);เล่มที่ของวารสาร (volume):หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (page). เช่น
  องุ่น ไร่งาม. คุณภาพไวน์ของประเทศฝรั่งเศส. วารสารอาหาร 2558;4:298-300.
  Khalil ML. Biological activity of bee propolis in health and disease. Asian Pac J Cancer Prev 2006;1:22-31.
2.3 การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง [ประเภท/ระดับปริญญา]. เมืองที่พิมพ์: มหาวิทยาลัย; ปีที่ได้ปริญญา. เช่น
  ปาริสุทธิ์ สงทิพย์. การพัฒนาอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากข้าวกล้องและสมุนไพร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
2.4 การอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทความ [อินเทอร์เน็ต]. ปีพิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ วัน เดือน ปี/cited year month day]. เข้าถึงได้จาก/Available from: http://...
  บานเช้า สวยดี. ระบบปรับอากาศ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.coe.or.th/oe/
  Satalkar B. Autolyzed yeast extract [Internet]. 2010 [cited 2015 November 22]. Available from: http://www.buzzle.com/articles/autolyzed-yeast-extract.html
  3. การเรียงรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  ให้นำรายการอ้างอิงมาเขียนเรียงตามลำดับหมายเลข 1., 2., 3., ...ตามที่ปรากฏในเนื้อหา โดยตัวเลขที่อ้างอิงภายในเนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับลำดับที่ในการอ้างอิงท้ายบทความ เช่น
 
1. เติมศรี ชำนาญกิจ. สถิติประยุกต์ทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
2. องุ่น ไร่งาม. คุณภาพไวน์ของประเทศฝรั่งเศส. วารสารอาหาร 2558;4:298-300.
3. Khalil ML. Biological activity of bee propolis in health and disease. Asian Pac J Cancer Prev 2006;1:22-31.
4. Satalkar B. Autolyzed yeast extract [Internet]. 2010 [cited 2015 November 22]. Available from: http://www.buzzle.com/articles/autolyzed-yeast-extract.html
5. บานเช้า สวยดี. ระบบปรับอากาศ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.coe.or.th/oe/
  การส่งบทความ
 
1. กรอกข้อมูลใน “แบบส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์” พร้อมทั้งลงนาม และสแกนเอกสารในรูป .pdf
2. จัดเตรียมต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์ .docx และ .pdf
3. จัดส่งเอกสารในข้อ 1. และ 2. มายัง คลิก >> https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/about/submissions
   
  การนำข้อความซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและกองบรรณาธิการวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ก่อน